สปิเนล กับทับทิม ของ ทับทิมเจ้าชายดำ

ในสมัยโบราณนั้น รัตนชาติส่วนใหญ่ที่มีสีแดงชาด จะถูกเรียกว่า "ทับทิม" จนกระทั่งในปัจจุบันซึ่งสามารถแยกทับทิม ซึ่งพบได้ยากกว่า"สปิเนล" ซึ่งทั้งสองรัตนชาตินี้สามารถแยกกันได้ตามคุณสมบัติของความแข็ง และความหนาแน่น ซึ่งทับทิมนั้นจะมีความแข็งกว่า (เล็กน้อย) และหนาแน่นกว่าสปิเนล

เครื่องราชกกุธภัณฑ์

สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ประดับทับทิมนี้ไว้บริเวณมงกุฎของพระองค์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งยังคงอยู่จนกระทั่งสมัยภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ซึ่งบัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ดนั้นเป็นส่วนน้อยที่รอดจากการทำลาย เครื่องราชกกุธภัณฑ์ส่วนใหญ่ถูกแยกชิ้นส่วนและทำลาย ส่วนเนื้อโลหะนั้นนำไปหลอมเป็นเหรียญกษาปณ์ ส่วนทับทิมเจ้าชายดำนั้น ผู้ค้าอัญมณีรายหนึ่งได้ซื้อเอาไว้ในสมัยเครือจักรภพแห่งอังกฤษ และต่อมาได้ถูกขายคืนให้กับราชสำนักในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ภายหลังการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ในปีค.ศ. 1660

ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างมงกุฎอิมพีเรียลสเตตองค์ใหม่ขึ้นสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในปีค.ศ. 1838 ซึ่งมงกุฎนี้สร้างโดยช่างอัญมณีแห่งราชสำนัก (ห้างรันเดลล์แอนด์บริดจ์) ประกอบด้วยอัญมณีกว่า 3,093 เม็ด รวมถึง'ทับทิมเจ้าชายดำ ประดับบริเวณด้านหน้าของมงกุฎ ซึ่งต่อมาในปีค.ศ. 1937 ได้มีการสร้างมงกุฎอิมพีเรียลสเตตองค์ใหม่ที่มีน้ำหนักเบากว่าขึ้น ก็ได้มีการย้ายทับทิมเม็ดนี้มาประดับไว้ดังปัจจุบัน

ใกล้เคียง